ข้อโต้แย้งบางประการใน “แบบจำลองคดีโลกร้อน”

 

ข้อโต้แย้งบางประการใน แบบจำลองคดีโลกร้อน

อ่านเพิ่มเติม: ข้อโต้แย้งบางประการใน “แบบจำลองคดีโลกร้อน”

  • ฮิต: 2207

ปัญหา "โลกร้อน" ไม่ใช่ "แดดร้อน"

 

ปัญหา "โลกร้อน" ไม่ใช่ "แดดร้อน"

อ่านเพิ่มเติม: ปัญหา "โลกร้อน" ไม่ใช่ "แดดร้อน"

  • ฮิต: 2043

เปิดสำนวนคำฟ้องศาลปกครองเพื่อยุติคดีโลกร้อนกับคนจน

เปิดสำนวนคำฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้
เพิกถอนคำสั่งการใช้แบบจำลองค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม(คดีโลกร้อน)
 
โดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.)  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555
 
ClimatetoCourt01
 
 
 
 
 
 
 
ใบแถลงข่าว
ครือข่ายชาวบ้านเกษตรกรเหนือ อีสาน ใต้ ยื่นฟ้องกรมอุทยาน กรมป่าไม้  
ขอให้ศาลปกครองเพิกถอนแบบจำลองการคิดค่าเสียหายโลกร้อน
เผยแพร่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
 
 ท่ามกลางกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้น  แต่ขาดความเข้าใจในบริบทชุมชนและวิถีการเกษตร  ทำให้ชุมชนดั้งเดิมที่มีวิถีเกษตรและมีพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าจากการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ต่างๆ ทับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินถูกขับไล่  ทำลายทรัพย์สิน  ตลอดจนไล่รื้อให้ออกจากที่ดินมาโดยตลอด 
 โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  และกรมป่าไม้ได้ประกาศใช้แบบจำลองสำหรับการประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลายป่าไม้ หรือที่รู้จักในชื่อ “แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน” ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติจากชาวบ้านเกษตรกร โดยอ้างกฎหมายมาตรา ๙๗  แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ ประกอบด้วยค่าน้ำสูญหาย ดินและแร่ธาตุในดินสูญหาย อากาศร้อนขึ้น ฝนตกน้อยลง และค่าเนื้อไม้ รวมเป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ต่อปี ทำให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรและดำรงวิถีชีวิตอยู่ในป่าเพื่อการดำรงชีพของตนและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนเสียหายเป็นอย่างมาก ตลอดจนกระทบสาระสำคัญต่อสิทธิชุมชนในการดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ 
 
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้แบบจำลองฯจากชุมชนบ้านแม่อมกิ  จังหวัดตาก  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดงจังหวัดเพชรบูรณ์  องค์กรชุมชนบ้านพรสวรรค์  จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับสภาทนายความ และกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นถึงความไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความไม่ถูกต้องทางวิชาการอย่างร้ายแรงของแบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อนหลายประการสำคัญ ได้แก่
 
 
1. เป็นแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยขาดองค์ความรู้และการศึกษาข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอ ใช้วิธีคิดคำนวณที่ไม่เหมาะสมและผิดไปจากสามัญสำนึกของคนทั่วไป เช่น การคิดค่าอากาศร้อนขึ้นจากค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการเปิดแอร์ในพื้นที่ป่าขนาด 1 ไร่ การคิดค่าดินและนำสูญหายโดยการคิดคำนวณค่าเช่ารถขนดินขนน้ำขึ้นไปโปรยทดแทน
2. เป็นการนำงานวิชาการที่ไม่ผ่านการประเมินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ ไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการทั้งในประเทศและนานาชาติ เอามาบังคับใช้ในการเรียกค่าเสียหายอันเป็นการกระทบสิทธิของประชาชน
3. มีการเลือกปฏิบัติบังคับใช้แบบจำลองอย่างไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิชุมชนของชาวบ้านเกษตรกร ทั้งที่วิถีของชาวบ้านเป็นการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาป่าและทรัพยากรธรรมชาติ  
 
   
ชาวบ้านจึงตัดสินใจยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  และกรมป่าไม้  ต่อศาลปกครองกลาง  เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งให้ใช้บังคับแบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดให้มีการการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนนำแบบจำลองใหม่มาบังคับใช้
 
  
 ทั้งนี้   เพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญของผู้ฟ้องคดีให้สามารถอยู่อาศัยและทำกินบนผืนแผ่นดินบรรพบุรุษได้อย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี และสามารถเข้าถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมใช้ประโยชน์และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมต่อไป
 
 
  • ฮิต: 1689

“แบบจำลองคดีโลกร้อน” กับการปรุงแกงส้ม

 

แบบจำลองคดีโลกร้อนกับการปรุงแกงส้ม

อ่านเพิ่มเติม: “แบบจำลองคดีโลกร้อน” กับการปรุงแกงส้ม

  • ฮิต: 1763

ติดตามเราได้ที่ facebook youtube

ผู้เข้าชม

6733425
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
ทั้งหมด
1164
4433
13617
124951
6733425

Your IP: 18.117.182.179
2024-04-24 03:48