ศาลนางรองสั่งจำคุก 3 ชาวบ้าน ฐานรุกป่า

 

ศาลจังหวัดนางรองพิพากษาชาวบ้านรุกป่าดงใหญ่ จำคุก 8 เดือน ไม่รอลงอาญา ด้านกรมคุ้มครองสิทธิฯ หอบเงิน 6 แสนปรกันตัว

ผู้สื่อข่าวรางงานว่า เมื่อวันที่ 31 ก.ค.55 ศาลจังหวัดนางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้มีการอ่านคำพิพากษาคดีบุกรุกแผ้วถางที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ ตัดสินจำคุกนายลุน สร้อยสด ชาวบ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ และพวกรวม 3 คน เป็นเวลา 8 เดือน ลดโทษ 1 ใน 4 เหลือ 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา เงินประกันตัวคงเดิมคือคนละ 200,000 บาท

ต่อมา ผอ.กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิฯ และอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมกันพิจารณาคำร้องของจำเลยทั้งสาม โดยได้อนุมัติตามคำร้องและมอบหมายเจ้าหน้าที่เดินทางไปที่ศาลนางรอง พร้อมเงินสด 600,000 บาท เพื่อประกันตัวชาวบ้านทั้ง 3 คนแล้ว

ทั้งนี้ กรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านเก้าบาตรและกรมป่าไม้ เกิดจากชาวบ้านในพื้นที่เดิมได้เข้าไปบุกเบิกพื้นที่ตามที่รัฐมีนโยบายเปิดป่าดงใหญ่บางส่วนให้ชาวบ้านบริเวณนั้นเข้าไปทำกิน โดยเป้าหมายเพื่อเป็นกันชน ต่อต้านการก่อการร้ายตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อราว 40 ปีก่อน แต่หลังเหตุการณ์สู้รบเบาบางลง รัฐมีนโยบายอพยพชาวบ้าน จัดตั้งเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 16 ไร่ โดยให้สิทธิเป็น สทก. สิทธิทำกิน คือทำกินได้แต่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ส่วนที่ดินเดิมถูกกันไม่ให้เข้าไปทำกิน

จากนั้นในปี 2528 รัฐเปิดให้เอกชน กลุ่มบุคคลเข้ามาเช่าพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนดงใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเคยบุกเบิกทำกินไว้เดิมก่อนมีการจัดสรร ผู้ที่ได้สิทธิเช่าส่วนใหญ่เป็นนายทุน สัญญาเช่าเกือบ 30 ปี เสียค่าเช่าแค่ปีละ 10-20 บาทต่อไร่ แต่ชาวบ้านก็ไม่สามารถเช่าได้ ด้วยข้ออ้างเงื่อนไข ไม่มีรถไถใหญ่ ก็ไม่สมควรทำประโยชน์ทั้งที่สิทธิของพวกเขา คือ เจ้าของที่ดิน ไม่ใช่คนขอเช่าด้วยซ้ำขณะที่ชาวบ้านเองก็พยายามร่วมกันลงชื่อคัดค้านการต่อสัญญาเช่าของบริษัทเอกชน

ต่อมาชาวบ้านที่รวมตัวกันได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และ ปี 2552 ได้เข้าไปปักหลักตั้งถิ่นฐานในแปลงที่หมดสัญญาเช่าของบริษัทเอกชน พื้นที่ 1,900 ไร่ เพื่อทำกินและร่วมกันจัดสรรที่ดินในรูปแบบ โฉนดชุมชน

 

รายงานโดย: สำนักข่าวลุ่มน้ำเซิน (นักข่าวพลเมือง ประชาไท วันที่ 5 ส.ค. 55)

 

  • ฮิต: 5235

หวั่น!ออกหมายจับชาวบ้าน “ชุมชนสันติพัฒนา”-บังคับคดีให้ออกจาก “พื้นที่ สปก.”

 

หวั่น! ออกหมายจับชาวบ้าน ชุมชนสันติพัฒนา”-บังคับคดีให้ออกจาก พื้นที่ สปก.

คณะทำงานสภาทนายความแจ้งข้อมูลวงใน เผยกำลังจะมีการออกหมายจับ ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาในคดีแพ่ง หลังศาลตัดสินให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซ้ำการยื่นเพิกถอนบังคับคดีอาจไม่เป็นผล ต้องเดินหน้าต่อในชั้นศาลอุทธรณ์

(9 ก.ค.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงานสภาทนายความแจ้งข้อมูลว่าได้รับการยืนยันเป็นการภายในจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งว่า กรณีชาวบ้านในชุมชนสันติพัฒนา ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฏร์ธานี ที่ถูกฟ้องคดีแพ่งและถูกบังคับคดีสั่งให้รื้อถอนภายในวันที่ 29 มิ.ย.55 ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ สปก.และ สปก.จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีหนังสือส่งมอบพื้นที่ให้กับชุมชนแล้ว ตามรายละเอียดที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ (คลิกอ่าน: http://www.prachatai3.info/journal/2012/07/41361) ว่ากำลังจะมีการออกหมายจับจำเลย โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิมพ์เอกสารหมายจับ คาดว่าน่าจะออกหมายจับในวันนี้

จากการพูดคุย ทนายความจากสภาทนายความให้ข้อมูลว่า หมายจับที่จะออกมาคือหมายจับในคดีแพ่งเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมบริวารออกไปจากพื้นที่ตามแนวเขตเส้นสีเขียวในแผนที่พิพาท ถ้าจำเลยปฏิเสธก็ต้องถูกจับกุมคุมขังซึ่งตามอำนาจศาลได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือจนกว่าจะมีการรื้อถอนแล้วเสร็จ ถ้าจำเลยตอบตกลงที่จะรื้อถอนก็ต้องมีกำหนดเวลาที่ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จภายในกี่วันกี่เดือน

เรารอความชัดเจนเรื่องเอกสารก่อน ถ้าหมายจับออกมาจริงก็ต้องยื่นขอเพิกถอนอีก อันที่จริงก่อนหน้านี้ได้ยื่นเรื่องไป 2 ครั้งแล้ว เรื่องเพิกถอนหมายจับกับเพิกถอนบังคับคดี ถ้ายังไม่เพิกถอนอีกก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจกว่าศาลชั้นต้นทนายความจากสภาทนายความกล่าว

สำหรับการยื่นเรื่องเพิกถอนการบังคับคดี จากกรณีที่คดีนี้โจทย์ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ สปก.แล้วนั้น ศาลมีความเห็นว่า หมายบังคับคดีไม่ได้ออกโดยผิดหลง หรือมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาและยื่นขอทุเลาบังคับคดีโดยที่ยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับก็ไม่ใช่เหตุที่จะเพิกถอนหมายเพื่อบังคับคดีได้ ส่วนเหตุตามคำร้องก็เป็นเรื่องระหว่างโจทย์กับสำนักปฏิรูปที่ดินไม่เกี่ยวกับจำเลยที่จะบังคับตามคำพิพากษา กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องบังคับคดีให้ยกคำร้อง

ทนายความกล่าวด้วยว่า เรื่องนี้หากร้องค้านไม่สำเร็จ ผลของคดีก็ต้องรอให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ตามชาวบ้านเองมีสิทธิปกป้องทรัพยากร วิถีวัฒนธรรมและชุมชนที่พวกเขาร่วมกันสร้างขึ้นมา ส่วน สปก.เจ้าของพื้นที่ก็ต้องออกมาปกป้องชาวบ้านถ้ามีการรื้อถอนชุมชนจริง สปก.มีสิทธิฟ้องโจทย์ในข้อหาบุกรุกได้เช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.55 นายบุญฤทธิ์ ภิรมณ์ และตัวแทนชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาได้เข้าประชุมร่วมกับ นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสำนักปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งนายสถิตพงษ์กล่าวกับตัวแทนชาวบ้านว่า บังคับคดีไม่มีสิทธิ์เข้าไปรื้อถอนชุมชนเพราะเป็นพื้นที่ สปก. และสปก.ได้ส่งมอบพื้นที่ไปแล้ว อีกทั้งจะทำหนังสือแจ้งไปทางบังคับคดีระงับการรื้อถอน และจะแจ้งไปทางจังหวัดสุราษฏร์ธานีโดยด่วน

จากนั้นในวันที่ 29 มิ.ย.55 ซึ่งมีกำหนดการรื้อถอน ได้มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งขับรถวนเวียนบริเวณใกล้ๆ ชุมชน แต่ไม่มีการรื้อถอนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ชุมชนสันติพัฒนาถูกดำเนินคดี จำนวน 4 คดี โดยโจทก์คือบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จำเลยคือชาวบ้านในชุมชนสันติพัฒนา จำนวน 12 คน ระหว่างการต่อสู้คดีจำเลยเสียชีวิต 3 คน โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดิน 1,486 ไร่ โดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3330 ไร่ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการออกเอกสารสิทธิ แต่ถูกจำเลยบุกรุกและทำละเมิดคดีแบ่งเป็น 2 ส่วน คือคดีอาญา 2 คดี และคดีแพ่ง 2 คดี รวมค่าเสียหายในส่วนแพ่ง 15 ล้านบาท

รายละเอียดและความคืบหน้าคดี มีดังนี้

1.คดีอาญาดำ 1912, 2131/2552 แดง 3738, 3739/2554 (รวมการพิจารณา 2 คดี)

ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โจทก์

บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) โจทก์ร่วม

นายมนัส กลับชัย กับพวกรวม 9 คน จำเลย

ข้อหา ร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยทั้งเก้ามีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกจำคุก 1 ปี 6 เดือน คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

2.คดีแพ่งดำ 1243/2551 แดง 138/2555

ระหว่าง บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด โจทก์

นางอรพิน วัชรเฉลิม กับพวกรวม 3 คน จำเลย

ข้อหา ละเมิด ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท

ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดิน 110 ไร่ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะออกไปจากที่พิพาท และชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะออกไปจากที่ดินพิพาท และชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ 30,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะทุนทรัพย์ที่ชนะคดี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

3.คดีแพ่งดำ 230/2552 แดง 953/2554

ระหว่าง บริษัท สหอุตสาหกรรน้ำมันปาล์ม จำกัด โจทก์

นายมนัส กลับชัย กับพวกรวม 12 คน จำเลย

ข้อหา ละเมิด ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1, 3, 5-9, 11, 12 รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดิน 110 ไร่ และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนว่าจะชำระเสร็จ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาทจนกว่าจะขนย้ายฯ

คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย ในส่วนของจำเลยขอยกเว้นค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ศาลมีคำสั่งอนุญาต และขอทุเลาการบังคับคดี ศาลยังไม่มีคำสั่งต้องรอให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับคดี

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.55 โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศเพื่อจะดำเนินการรื้อถอนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เริ่มดำเนินการรื้อถอน 29 มิ.ย.55

ประชาไท   9-07-55

 

 

 

  • ฮิต: 3139

สภาพปัญหาและความเป็นมาของกรณีสวนป่าโคกยาวตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

 ปี พ.ศ. 2527 กรมป่าไม้ โดยสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา ( สำนักบริหารในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 ในปัจจุบัน ) ได้เข้ามาดำเนินการปลูกสร้างสวนป่ายูคาลิปตัสป่าโคกยาว ในบริเวณทิศตะวันออกห้วยว่านน้ำ

และเลียบไปตามลำน้ำพรม เนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินทำกินของราษฎรบ้านทุ่งลุยลาย และบ้านโนนศิลา ที่ถือครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา ทำให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินเดิมในปี พ.ศ. 2529 โดยมีกองกำลังทหารพรานจาก ทพ. 25 ชุมแพ จำนวนประมาณ 28 นาย นำโดย พันตรียิ่งยศ  ศรีเจริญ ได้เข้ามาขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกิน โดยอ้างว่าจะดำเนินการปลูกฟื้นฟูพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นป่าธรรมชาติตามเงื่อนไขการสัมปทานตัดไม้ และให้สัญญากับชาวบ้านว่าจะจัดหาที่ดินทำกินชดเชยให้กับราษฎรที่ถูกอพยพคนละ 15 ไร่ จำนวนทั้งสิ้น 72 ราย ซึ่งพื้นที่รองรับการอพยพดังกล่าวอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านทุ่งลุยลาย ( บริเวณทุ่งสายใจ ห้วยหินฝน ห้วยเดื่อ และห้วยยาง ) ที่มีการถือครองทำประโยชน์ของราษฎรอยู่เดิมแล้ว ทำให้เกิดเรื่องพิพาทกันของราษฎรทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มราษฎรที่ถือครองทำกินอยู่เดิมได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักราชเลขานุการ สำนักพระราชวัง โดยมีท่านผู้หญิงสุปภาดา เกษมสันต์ เป็นผู้รับเรื่อง ผลการยื่นหนังสือปรากฏว่าเจ้าของพื้นที่เดิมสามารถเข้าทำประโยชน์ต่อไปได้ ส่วนราษฎรที่ถูกอพยพไม่มีที่ดินทำกิน และเกิดความเดือดร้อนจนถึงปัจจุบัน

ในส่วนการเข้าดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าของกรมป่าไม้ ได้เริ่มเข้ามาในปี พ.ศ. 2527 โดยการตั้งสำนักงานสวนป่าในระยะแรกที่บริเวณดงซำเตย ต่อมาปี พ.ศ. 2528 จึงเริ่มปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งในช่วงดังกล่าวชาวบ้านยังสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่ทำกินได้ โดยการปลูกข้าวโพด ถั่วแดง เป็นต้น กระทั่งปี พ.ศ. 2529 กองกำลังทหารจึงมาขับไล่ออกจากพื้นที่ในที่สุด

สภาพปัญหาและผลกระทบ

                ชาวบ้านที่เคยถือครองทำกินในพื้นที่บริเวณโคกยาวภายหลังการอพยพขับไล่ออกจากพื้นที่ต้องไร้ที่ทำกิน พื้นที่ที่ทางการให้คำมั่นสัญญาว่าจะจัดสรรให้ก็ไม่สามารถเข้าดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นที่ดินที่มีเจ้าของอยู่แล้ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจของชาวบ้านมาโดยตลอด

การดำเนินการแก้ไขปัญหา

  ภายหลังการอพยพขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้ดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แต่ไม่มีการแก้ไขปัญหาใดๆ ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์สำคัญในการติดตามปัญหาในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาได้ดังต่อไปนี้

 1.) ปี พ.ศ. 2541 ชาวบ้านทุ่งลุยลายได้เรียกร้องต่อหน่วยงานราชการ ได้แก่ นายอำเภอคอนสาร ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ (นายเจริญ  จรรย์โกมล ) เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน แต่ไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

 2.) เดือนตุลาคม 2542 ชาวบ้านทุ่งลุยลายได้ชุมนุมที่หน้าที่ว่าการอำเภอคอนสาร เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหา โดยมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานราชการ ผลการประชุม ทางราชการได้รับเรื่องร้องเรียน และรับจะดำเนินการเสนอต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป

 3.) วันที่ 11 มิถุนายน 2547 ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ณ ห้องประชุมภูแลนคา ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ ที่ประชุมมีมติให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิออกไปตรวจสอบพื้นที่เพื่อนำเสนอสภาพปัญหาต่อที่ประชุมอีกครั้ง

 4.) เดือนพฤษภาคม 2548 นายก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  สว.ชัยภูมิ ลงพื้นที่บ้านทุ่งลุยลาย โดยได้ประชุมร่วมกับราษฎร อบต.ทุ่งลุยลาย เกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร โดยมีข้อตกลงให้มีการแต่งตั่งคณะทำงานร่วมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงใหม่อีกครั้ง

5.) วันที่ 25 สิงหาคม 2548 ตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( นายนพดล  พลเสน ) เรื่องปัญหาที่ดินทำกินของราษฎรตำบลทุ่งลุยลาย

  6.) วันที่ 31 สิงหาคม 2548 นายนพดล  พลเสน ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือถึงตัวแทนชาวบ้านให้เข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อคณะอนุกรรมาธิการ ในวันที่ 6 กันยายน 2548 โดยผลการประชุมในวันดังกล่าวได้แนวทางให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับพื้นที่ต่อไป

 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการแต่งตั้งคณะทำงานตามนัยข้อตกลงดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดเรื่อง องค์ประกอบของคณะทำงาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะทำงาน กระทั่งได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในเวลาต่อมา

7.) วันที่ 31 ตุลาคม 2549 ชาวบ้านคณะอนุกรรมการด้านการจัดการที่ดินและป่า ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้จัดประชุมร่วมกับจังหวัดชัยภูมิเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้านที่เดือดร้อน ผลการประชุมกรณีสวนป่าโคกยาว ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีสัดส่วนของราษฎรกับหน่วยงานราชการเท่าเทียมกัน

 8.)  วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 นายวรนิตติ์  มุตตาหารัช นายอำเภอคอนสาร มีคำสั่งอำเภอคอนสาร ที่ 310 / 2549 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรอำเภอคอนสาร กรณีสวนป่าโคกยาว โดยให้คณะทำงานมีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ของราษฎรผู้เดือดร้อนต่อไป

ต่อมา คณะทำงานได้ดำเนินการสำรวจข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเดือดร้อนของราษฎร และดำเนินการรังวัดพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือ GPS ผลการดำเนินงาน ปรากฏว่า มีราษฎรเดือดร้อนทั้งสิ้น 28 ครอบครัว 36 ราย พื้นที่ทั้งสิ้น 830 ไร่

9.) วันที่ 7 สิงหาคม 2550 ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรอำเภอคอนสาร ณ ห้องประชุมอำเภอคอนสาร กรณีสวนป่าโคกยาว ที่ประชุมมีมติรับรองความเดือดร้อนของราษฎร และเห็นสมควรให้เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอของกลุ่มราษฎร กรณีสวนป่าโคกยาวต่อไป

 

 10.) วันที่ 5 มิถุนายน 2551 ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรอำเภอคอนสาร ณ ห้องประชุมอำเภอคอนสาร กรณีสวนป่าโคกยาว ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหา โดยมีมติให้ราษฎรสามารถเข้าทำกินในระหว่างการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ โดยไม่มีการตัด หรือโค่นต้นไม้หลัก ทั้งนี้ให้มีหนังสือรับรองการเข้าทำประโยชน์ โดยมีผู้ร่วมรับรองประกอบด้วย นายอำเภอคอนสารหรือปลักอาวุโส หัวหน้าสวนป่าต้นน้ำทุ่งลุยลาย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราษฎรที่ขอเข้าทำประโยชน์

 11.) วันที่ 24 กรกฎาคม 2551  ประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานราชการกับชาวบ้านผู้เดือดร้อน ที่ หอประชุมอำเภอคอนสาร โดยมีปลัดจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมดังกล่าวไม่สามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ ทำให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนขอยุติการประชุม

 12).วันที่ 412 มีนาคม 2552  เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ได้ชุมนุมติดตามการแก้ไขปัญหาที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น วันที่ 9 มีนาคม 2552 นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และวันที่ 11 มีนาคม 2552 คณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้จัดประชุมครั้งที่ 1 / 2552 ณ ห้องประชุมอาคารรัฐสภา โดยที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาเร่งด่วน กรอบนโยบายการแก้ไขปัญหา และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ข้อเสนอเร่งด่วนเรื่องที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน กรณีราษฎรสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยที่อยู่อาศัยในเขตสวนป่า พื้นที่ป่าไม้ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตวนอุทยาน ป่าสงวนแห่งชาติ และเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีข้อพิพาทกับหน่วยงานภาครัฐ และอยู่ในระหว่างการตรวจสอบในคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมมีมติ ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการฯ คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ผ่อนผันให้ราษฎรได้อยู่อาศัย และทำกินในที่ดินดังกล่าวตามวิถีชีวิตปกติไปพลางก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน และแจ้งส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการใดๆที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป และให้คณะอนุกรรมการฯที่จะแต่งตั้งขึ้น ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อคณะกรรมการฯ ต่อไป

ส่วนกรอบ นโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหา นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางที่นายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้ยึดหลักการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชน ตามสภาพพื้นฐานของแต่ละปัญหาและยึดหลักนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นความสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานเป็นสำคัญ ดังนั้นกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎระเบียบ แต่สามารถอะลุ่มอล่วย ให้ดำเนินการได้ ก็ให้ดำเนินการต่อไป โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องแก้ไขกฎระเบียบก็ให้คณะอนุกรรมการฯ ที่จะแต่งตั้งไปดำเนินการศึกษาถึงผลดี ผลเสีย และนำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป

   13).วันที่ 24 มีนาคม 2552 นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ที่ 1/2552 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ทั้งสิ้น 6 ชุด โดยหนึ่งในนั้นมีคณะอนุกรรมการฯ ด้านการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

14).วันที่  7 เมษายน 2552   คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และที่ป่าไม้อื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมกรมควบคุมมลพิษ โดยที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้ง และมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย กรอบแนวทางการแก้ไขปัญหา และมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

15). วันที่ 3 กรกฏาคม 2552 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2552 ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ในกรณีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ชุดปัญหาพื้นที่ป่าไม้ ที่ประชุมมีมติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปราโมทย์ ผลภิญโญ อนุกรรมการฯและผู้ช่วยเลขานุการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) ร่วมกันหารือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภายใน 2 สัปดาห์

16.) วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้แทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมประชุมหารือ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ขัดข้องในการดำเนินงานตามนโยบายโฉนดชุมชนในเขตพื้นที่ป่าไม้ และกระบวนการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามกลไกที่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ให้ดำเนินการต่อไป

17.) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2553 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้อื่นๆที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา

18.) วันที่ 15 มิถุนายน 2553 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2553 ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกบัญชาการผลการ ทำเนียบรัฐบาล ดำเนินงานของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้อื่นๆที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา

19.) วันที่ 26 เมษายน 2554 คำสั่งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินแห่งประเทศไทย ที่ 1/2554 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินในเขตป่าไม้ โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นประธาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนเป็นกรรมการ

สถานภาพปัจจุบัน

      การดำเนินการแก้ไขปัญหายังไม่มีความคืบหน้า

ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

  1.) ให้รัฐบาลยกเลิกสวนป่าออกจากที่ดินทำกินเดิมของชาวบ้านโดยเด็ดขาด

2.) ให้นำที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวมาจัดสรรให้กับราษฎรผู้เดือดร้อน พร้อมกับการพัฒนาเป็นพื้นที่นำร่องการจัดการทรัพยากรและที่ดินในรูปแบบ โฉนดชุมชนและการจัดตั้ง ธนาคารที่ดินตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา

 3.) ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ  ให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนสามารถเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ได้

เขียนโดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 4 กรกฏาคม 2011

 

  • ฮิต: 3797

หยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้าง อยู่เหนือข้ออ้างกฎหมายที่อยุติธรรม

na2
ตามกฎหมายรัฐจะว่าผิดกะว่าไป เฮาถือว่าเฮามาเอาที่ของเฮาคืน แล้วกะบ่หวังว่าสิร่ำสิรวยดอก

อ่านเพิ่มเติม: หยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้าง อยู่เหนือข้ออ้างกฎหมายที่อยุติธรรม

  • ฮิต: 4432

คดีคนจน:การเข้าถึงความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม

คดีคนจน:การเข้าถึงความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม

กล่าวนำ

หากจะกล่าวถึงปัญหาสภาพที่ดินป่าไม้ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสภาพของปัญหายังคงมีกรณีการแย่งชิงทรัพยากร ธรรมชาติ(ที่ดิน)ในระดับรุนแรงมากบ้างน้อยบ้างตามสภาพของปัญหาในแต่ละ พื้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งในแนวทางนโยบายของการแก้ไขปัญหา ไม่อาจมองข้ามสภาพของพื้นฐานดั่งเดิมที่แท้จริงได้

และ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ้างอิงพื้นฐานความเป็นจริงของชุมชน ผนวกเข้ากับแนวทางของการแก้ไขปัญหา ดังนั้นไม่ว่าวิถีแห่งการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย หรือแนวทางในการต่อสู้ในกระบวนการต่างๆจากภาครัฐนั้น ผู้ถูกกระทำอย่างชุมชน ราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ จึงต้องหยิบยกสิทธิของตน ชุมชน วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตต่างๆมาเป็นข้อต่อสู้เรียกร้อง หรือเป็นประเด็นในการตั้งต้นข้อต่อสู้กับภาคส่วนต่างๆของรัฐ หรือของภาคธุรกิจเอกชน

ดังนั้นโจทย์ที่สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ ต้องการให้เครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ประมวลภาพหรือสะท้อนภาพในมิติของปัญหาการดำเนินคดีกับคนจน ในเรื่องที่ดินป่าไม้ คดีสิ่งแวดล้อม(คดีโลกร้อน) และในการเข้าถึงกระบวนยุติธรรม โดยการนำภาพสะท้อนของภูมิหลังในข้อเท็จจริงของพื้นที่ กับประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการหยิบมาใช้กับประเด็นปัญหา และก่อเกิดอุปสรรคอย่างไรในการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมนั้น

ภาพภูมิหลังของสภาพพื้นที่กับการต่อสู้กับภาครัฐ(สิทธิอันชอบธรรม)

เมื่อเริ่มต้นพูดเรื่องที่ดิน มักจะพูดกันถึงประเด็นแห่งสิทธิของตน(ชุมชน)ที่ใช้อ้างเพื่อเป็นข้อต่อสู้ กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแสดงถึงความชอบธรรม(อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่รัฐกล่าว อ้าง) ฝ่ายราษฎรพยายามอ้างอิงแหล่งที่มาถิ่นฐานว่ามีการดำรงคงอยู่ในความเป็นมา เป็นไปเช่นไร ฝ่ายรัฐอ้างอิงความเป็นกฎหมายต่างๆเข้ามาอธิบาย และฝ่ายเอกชน(ภาคธุรกิจที่ดิน)พยายามอ้างอำนาจตามกฎหมายที่พวกตนได้รับจาก รัฐ ดังนั้นเมื่อแต่ละฝ่ายมีความเชื่อในความชอบธรรมที่แตกต่างกันไป มันจึงนำมาสู่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงประโยชน์ที่ตนควรมีและได้รับนั้น

กระบวนการต่อสู้ของภาคประชาชนจึงอ้างอิงฐานที่มั่นของตน ด้วยการอธิบายถึงถิ่นฐานของตนว่าสืบทอดตกทอดมาจากบรรพบุรุษแต่ดั่งแต่เดิม บ้าง หรือเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานจากในอดีตต่างๆเช่นด้วยเงื่อนไขของการแสวงหาถิ่น ฐานที่อุดมสมบูรณ์หรือเกิดการขยายฐานทางประชากร หรือถูกทำให้ต้องอพยพตามเงื่อนไขของภาครัฐ(กรณีประเด็นปัญหาคอมมิวนิสต์) ทั้งหมดทั้งมวลจึงถูกอธิบายถึงความชอบธรรมในการดำรงคงอยู่ของชุมชนเป็นต้น

กรณี ตัวอย่างเช่นกรณีชาวบ้านในเขตป่าภูผาแดง อำเภอหล่มสัก พยายามอธิบายถึงที่มาและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ว่ามีการก่อเกิดการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.2460(บ้านห้วยระหงส์) 2506 (บ้านห้วยกณฑา)2508 (บ้านห้วยหวาย)[2] แต่เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ภูผาแดง มีการประกาศเขตพื้นที่เมื่อปี 2542 และเข้ามาดำเนินการจัดการในพื้นที่เมื่อประมาณปี 2544 กับทำให้ชาวบ้านราษฎรต่างๆเหล่านั้น ต้องกลายมาเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายป่าไม้ไปโดยทันที ซึ่ง ณ ปัจจุบันบ้านห้วยหวายได้ถูกอพยพไล่รื้อชุมชนให้ออกจากพื้นที่แล้ว

หรือ อย่างกรณีในพื้นที่ภาคใต้เครือข่ายเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง กระบี่ พัทลุง ชุมชนราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรสวนยางพารา ชุมชนบางชุมชนมีหลักฐานการก่อตั้งอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2480(ชุมชนบ้านคอกเสือ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง)[3] หรืออย่างชุมชนบ้านตระ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชน โดยคำบอกเล่าของ ยายนาง เพชรพริ้ง อายุ 93 ปี บอกว่า... ยายรู้ว่าปะ(พ่อ)ของยายเกิดที่นี่และตายที่นี่และได้ฝังไว้ที่อุโบ (สุสาน)บ้านตระซึ่งเป็นอุโบแห่งที่สอง รุ่นก่อนปะกับมะนั้นได้ไปใช้อุโบที่เขานุ้ยตั้งอยู่ที่คลองตระ คนที่สำคัญจะถูกฝังไว้ที่นั่นและที่นั่นก็ยังมีสุเหล่าที่ใหญ่โตและเป็น ศูนย์กลางด้วย



[2] ข้อมูลจากเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่ปรากฎปีที่จัดทำ

[3] ข้อมูลจากนางกำจาย ชัยทองและครอบครัวให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2552 จัดทำเรียบเรียงโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด 

เมื่อมีการมีประกาศเขตป่าอนุรักษ์[4]ทับที่ ดินทำกินของราษฎรและชุมชน กลายเป็นว่าวิถีการทำเกษตรสวนยาง และต้องตัดยางในช่วงอายุต้นยางหมดสภาพ และต้องเริ่มลงปลูกยางใหม่ จึงเป็นผู้กระทำผิดในกฎหมายอนุรักษ์และอุทยานไปแล้ว 

ส่วน ประเด็นทางภาคเหนือส่วนมากจะเป็นพี่น้องชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ดำรงคงอยู่ในพื้นที่ป่าเขากันมาอย่างยาวนาน เป็นที่รับรู้ของภาครัฐหรือภาคสังคมต่างๆ แต่เมื่ออคติหรือทัศนคติที่มองภาพลบของวิถีแห่งการทำกินว่าเป็นผู้ทำลาย จึงต้องตกเป็นจำเลยของกฎหมายป่าไม้หลายๆฉบับด้วยเช่นกัน

นี่คือภาพสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างของการมองความเป็นรัฐ(หากมีโอกาสจะ อธิบายต่อไป)ที่รัฐสามารถใช้สิทธิหรืออ้างสิทธิเพื่อแย่งชิงทรัพยากรอย่าง ที่ดินจากราษฎรมาเมื่อใดก็ได้ เพียงแต่เขียนและอ้างกฎหมายเข้ามาจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเสีย โดยไม่มองวิถีแห่งชุมชนท้องถิ่นว่าจะมีความเป็นมาเช่นไร และมีวิถีวัฒนธรรมกับป่าไม้อย่างไร ในเมื่อมายาคติที่ถ่ายทอดกันมายังทำเสมือนว่าผืนดินทุกตารางนิ้วเป็นของรัฐ ทั้งสิ้น จึงเป็นข้ออ้างหรือสมมติฐานทางกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่รัฐเป็นสำคัญ จนไม่หลงเหลือสิทธิอันชอบธรรมของชุมชนชนบทที่มีต่อผืนดินของเขาในการก่อร่าง สร้างตัวให้เป็นชุมชนขึ้นมาอีกเลย

ภาคธุรกิจนายทุนกับชาวบ้าน

ส่วนประเด็นการแย่งชิงระหว่างกลุ่มทุนภาคธุรกิจที่ดิน กับราษฎร ประเด็นปัญหาจะถูกอธิบายด้วยเงื่อนไขในทางกฎหมายว่าสิทธิของใครดีกว่ากัน หมายถึงสิทธิตามเอกสารสิทธิที่ทางราชการออกให้หรือรับรองตามกฎหมาย ประเด็นการถกเถียงหรือต่อสู้เท่าที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคเหนืออย่าง จังหวัดลำพูน(อำเภอบ้านโฮ่ง,ป่าซางและกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง) การต่อสู้ในสภาพภูมิหลังของพื้นที่คือเดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชน ต่างๆ แต่ถูกนำมาบริหารจัดการให้มีเอกสารสิทธิ์รับรองพื้นที่นั้นๆ และนำพื้นที่นั้นมาสร้างผลิตผลทางการค้าที่ดิน ที่ไม่ใช่วิถีผลิตแบบการเกษตร และเมื่อระยะเวลาผ่านไป ชุมชนเกิดการเรียกร้องพื้นที่เหล่านั้นคืนจากภาคธุรกิจต่างเหล่านั้น ที่ทอดทิ้งไม่ใช้พื้นที่เพื่อทำประโยชน์(ยุคฟองสบู่แตก) เพื่อมาจัดการตามวิถีทางเกษตรของชุมชน ข้ออ้างในการเรียกคืนหรือทวงคืนโดยการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์หล่านั้นและผลปราก ฎว่ามีการกระทำการออกโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นเกือบ ทุกแปลง และบางแปลงมีการดำเนินการให้เพิกถอนแต่ขั้นตอนยังไม่แล้วเสร็จ และบางแปลงผู้มีอำนาจในท้องถิ่นหรือนักการเมืองครอบครองโดยไม่มีเอกสาร สิทธิ์

หรืออย่างในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ปัญหาสวนปาล์ม) สิทธิในการเช่าที่ดินจากรัฐตามระยะเวลาแห่งการเช่าได้หมดสิ้นแล้ว(การเช่าจะ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่อาจทราบได้) ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินซึ่งมีความต้องการพื้นที่เพื่อทำการผลิตแบบเกษตร ในการยั่งชีพของครอบครัว จึงเข้าแย่งชิงพื้นที่นั้นๆ และประสงค์ให้ภาครัฐ(หน่วยงาน สปก.)เข้ามาจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎร โดยที่ภาคธุรกิจเหล่านั้นยังไม่ยอมคืนพื้นที่แก่รัฐ และหากภาครัฐยังไม่ดำเนินการเรียกคืนพื้นที่ ภาคธุรกิจอาจเข้าใช้ประโยชน์โดยไม่มีการตอบแทนแก่ภาครัฐเลย หรืออาจอาศัยการเข้าถึงข้อมูลบางประการเพื่อใช้พื้นที่ทำประโยชน์ต่อไปหรือ ตลอดไป ทั้งๆที่เงื่อนไขตามกฎหมายในสภาพแห่งบุคคล(นิติบุคคล)อาจจะไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย(สัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ จากการตรวจสอบของ DSI)

เหล่านี้คือสภาพข้อเท็จจริงที่ต่างฝ่ายพยายามหยิบมาอ้าง ถึงความชอบธรรมตามกฎหมายบ้านเมือง ระหว่างธุรกิจเอกชนกับราษฎร หรือภาครัฐหยิบความเป็นรัฐเป็นเจ้าของผืนดิน(สืบทอดแนวคิดกษัตริย์ผู้เป็น เจ้าของแผ่นดิน)ขึ้นมาอ้างกับราษฎร โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการประหัดประหารผู้ต่อต้าน

กฎหมายต่างๆที่นำมาใช้กับราษฎรในที่ดินและป่า

เมื่อปัญหาเกิดในพื้นที่ป่าไม้ ฉะนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำกฎหมายต่างๆเหล่านั้นมาใช้จัดการ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 4(1) โดยให้ความหมายคำว่า ป่า หมายถึง ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 29 กล่าวถึงการเก็บหาของป่าหวงห้าม ต้องขออนุญาตและต้องเสียค่าภาคหลวง มาตรา 54 กำหนด ห้ามก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือยึดถือครอบครองป่า และให้สันนิษฐานว่าผู้ใดครอบครองพื้นที่ป่า ถือว่าเป็นผู้แผ้วถาง ตามมาตรา 55 และกำหนดโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดตามมาตรา 54 คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ



[4] ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2510,ประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด พ.ศ.2518 และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า พ.ศ.2525 ข้อมูลจากเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัดใน ความเป็นมา ปัญหา และแนวทางเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด 2 พ.ย.2552

 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ได้ขยายความคำว่าป่าเพิ่มเติมขึ้นไปอีกว่า มาตรา 4“ที่ดินรวมตลอดถึงภูเขา ห้วย หนอง คลองบึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย และยังสามารถกำหนดพื้นที่อื่นใดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มเติมได้อีกตาม มาตรา 6 แต่ในการที่จะประกาศเขตป่าสงวนในพื้นที่แห่งใดนั้น ได้เปิดช่องให้ผู้ครอบครองยื่นหนังสือต่อฝ่ายปกครองได้ภายในกำหนด 90 วัน ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายป่าฉบับนี้จะบัญญัติเหมือนกันคือห้ามยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าตามมาตรา 14 แต่ในข้อกำหนดห้ามนั้น กฎหมายฉบับนี้ยังให้สิทธิในการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยได้ตามกำหนดระยะเวลา ไม่เกิน 30 ปี (ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม) ตามมาตรา 16,16 ทวิ,16 ตรี

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 กำหนดห้ามยึดถือครอบครองพื้นที่เช่นกันในมาตรา 16 ส่วนพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีสามารถกำหนดบริเวณพื้นที่ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้ โดยต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 33 ซึ่งในเขตรักษาพันธุ์ฯห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 37 และห้ามยึดถือครอบครองพื้นที่ตามมาตรา 38 ,42 หากฝ่าฝืนมีความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

หาก เป็นคดีความผิดที่ไม่ใช่พื้นที่ป่าไม้ คืออาจเป็นพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐหน่วยอื่น กฎหมายที่อาจนำมาใช้ในการดำเนินคดีจะเป็นกฎหมายอาญา ข้อหาบุกรุก ตามมาตรา 362,363,365 หรือ หากเป็นกรณีฟ้องร้องทางแพ่งส่วนใหญ่ที่มีสภาพแห่งข้อหาที่อาจรุนแรงคือ ข้อหาขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งหากแพ้คดีคำพิพากษาจะบังคับให้ต้องออกจากพื้นที่ หากขัดขืนสามารถควบคุมตัวไว้ได้จนกว่าจะออกจากพื้นที่หรือรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างออกไป

ทั้ง หมดนี้คือเครื่องมือที่ใช้ดำเนินการกับผู้ต่อต้าน อย่างที่ผู้เขียนได้พยายามอธิบายเพื่อให้เห็นภาพว่า หากนำกฎหมายต่างๆเหล่านี้มาเป็นตัวตั้งในการพิจารณาเพียงอย่างเดียว โดยไม่มองประเด็นข้อเท็จจริงพื้นฐานแห่งสิทธิของชุมชนคู่กรณีแล้ว หรือมีความเชื่อในกฎหมายของรัฐที่ไม่พิจารณาในมิติทางสังคมชุมชนเลย อาจจะไม่เป็นธรรมกับชุมชน ที่ไม่อาจมีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายหรือเงื่อนไขทางนโยบายได้ และต้องถูกกดขี่ด้วยกฎหมายตลอดไป และนี่คือกฎหมายส่วนใหญ่ที่ใช้บังคับกับชาวบ้านต่างๆ

กระบวนการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม

เมื่อถึงขั้นตอนแห่งกระบวนการต่อสู้ในกระบวนยุติธรรมแล้ว จะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับชั้นของการถูกจับกุม ซึ่งในคดีป่าไม้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจคือเจ้าหน้าที่ป่าไม้พื้นที่นั้นๆ เป็นผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายป่าไม้ และส่งมอบบุคคลผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวน(ตำรวจท้องที่เขตนั้นๆ) ซึ่งเงื่อนไขในการจับกุมจะถูกระบุโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ (ตามกฎหมายที่อ้างแล้วในบทก่อน)

แต่ การพิจารณาในระดับชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและชั้นพิจารณาสั่งฟ้องใน ระดับอัยการนั้น มักไม่ค่อยพิจารณาถึงประเด็นแห่งอำนาจอันชอบธรรมในการดำรงคงอยู่ในพื้นที่ มากนัก(สิทธิในที่ดินทำกินสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญหรือสิทธิมนุษยชน) แต่จะพิจารณาถึงประเด็นของการมีเจตนากระทำผิดตามเงื่อนไขกฎหมายอาญาประกอบ กฎหมายป่าไม้หรือไม่ เช่น อาจจะรับทราบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าจริงและยอมรับความเป็นชุมชน แต่อาจจะพิจารณาสั่งไม่ฟ้อง ด้วยเงื่อนไขว่า พื้นที่เกิดเหตุได้มี การทำกินมานานแล้ว จึงเชื่อว่าผู้ต้องหาไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนหรือเขตอุทยาน จึงขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงสั่งไม่ฟ้องคดี[5] ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าแม้ชุมชนจะก่อตั้งมา อย่างยาวนานเช่นไร(ไม่อาจโต้แย้งรัฐได้) ก็ไม่มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะได้สิทธิเด็ดขาด และไม่มีอำนาจอันชอบธรรมในการทำประโยชน์ตามวิถีแห่งตนหรือวัฒนธรรมชุมชน เลย(จะถูกยึดพื้นที่ทำกิน) เพราะติดเงื่อนไขตามกฎหมายป่าไม้ และต้องถูกดำเนินคดีอยู่ล่ำไปในทุกพื้นที่

ทั้งในชั้นจับกุมหรือสอบสวน หากราษฎรไม่มีความเข้าใจในสิทธิแห่งตนแล้ว วิถีที่ถูกปฎิบัติตลอดมาคือการให้รับสารภาพในการกระทำความผิดตามเงื่อนไข กฎหมาย เพราะมีความเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อว่าไม่สามารถที่จะต่อสู้กับรัฐได้ นี่คือสภาพปัญหาที่แท้จริงของการต่อสู้ของราษฎรในอดีตที่ผ่านมา และในปัจจุบันก็ยังคงปรากฎอยู่เช่นนี้ หากราษฎรคนนั้นกลุ่มนั้นไม่ได้รับคำปรึกษาแนะนำ หรือไม่มีขบวนมาช่วยในการต่อสู้

อุปสรรคที่ใหญ่ต่อมาขอการต่อสู้คือหลักทรัพย์ค้ำประกันบุคคล ในคดีป่าไม้และที่ดินจะมีหลักเกณฑ์ของจำนวนวงเงินค้ำประกันที่สูงมากในระดับ ชาวบ้านราษฎรโดยทั่วไป (ประมาณจำนวนหนึ่งแสนบาทต่อคดี) ซึ่งเป็นปัญหา


[5] กรณี คดีนายเสิด แท่นมาก และนายประพันธ์ ทองไทย เป็นต้นที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาต่อศาล แต่คดีแพ่งถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,434,375 บาทและ 655,446.13 บาท 

  • ฮิต: 3540

ติดตามเราได้ที่ facebook youtube

ผู้เข้าชม

6591590
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
ทั้งหมด
4079
2653
20707
105983
6591590

Your IP: 3.90.205.166
2024-03-28 15:50