• หน้าแรก
  • มูลนิธิชีวิตไท - การตลาดอินทรีย์

ตลาดพรีออเดอร์เกษตรอินทรีย์ อุ่นใจคนปลูก สุขใจคนกิน

Baansuanlomchaoi

{phocadownload view=youtube|url=https://youtu.be/LlZYVE642As}

บ้านสวนลมโชย เป็นเกษตรกรรายย่อย อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ที่ทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
เริ่มก่อร่างสร้างสวนตั้งแต่เริ่มเข้าร่วมโครงการคนกล้าคืนถิ่น 1 พฤษภาคม 2558
บ้านสวนฯ ปลูกทั้งผัก ผลไม้ นั่นก็คือชะอม ผักหวานป่า ไว้เก็บยอดทั้งกินและขาย มะม่วง มะขามเทศ ขนุน ไผ่
ซึ่งมีทั้งผลิตและกิ่งพันธ์อีกชนิดที่เลือกก็คือ เห็ดนางฟ้าภูฏาน เพราะออกดอกให้เก็บและขายเป็นรายได้หลักของสวน
ไก่ไข่อารมณ์ดี เราเลี้ยงแบบปล่อยให้เดินในสวน กินหญ้า แมลง หยวกผสมรำข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด และอาหารสำเร็จรูป
เมื่อการผลิตลงตัว เราจึงจัดส่งผลผลิตเป็น "ตลาดสดเดลิเวอรี่" แบบบริการจัดส่งถึงที่
โดยนำผลผลิตจากฟาร์มและจากเกษตรกรอินทรีย์รายย่อยที่ฟาร์มของเราร่วมทำงานด้วย สู่ผู้บริโภคโดยตรง
เพราะเราเชื่อว่า...อาหารที่ดีต้องมาจากวัตถุดิบที่ดี เราจึงดูแลทุกสิ่งเพื่ออาหารที่มีคุณภาพให้กับคุณ

จัดทำโดย : มูลนิธิชีวิตไท

สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลิตเมื่อ : เมษายน 2564

 

ตลาดออนไลน์ ทางรอดเกษตรกรยุคโควิด-19

OnlineMarketforFarmer

{phocadownload view=youtube|url=https://youtu.be/_wPh3fN_xbM}

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา เกษตรกรเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตลาดออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากในหลายพื้นที่ไม่สามารถทำการค้าขายแบบปกติได้ ตลาดออนไลน์เป็นโอกาสในการพัฒนารายได้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรสามารถตั้งราคาสินค้าของตนเองได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับคนกลาง อย่างไรก็ตามตลาดออนไลน์มีการแข่งขันสูง การทำตลาดออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จเกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและมีการกลับมาซื้อซ้ำหรือบอกต่อ มูลนิธิชีวิตไท จึงอยากนำเสนอเทคนิคและแนวทางการพัฒนาตลาดออนไลน์สำหรับเกษตรกร ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีส่วนช่วยพัฒนาเกษตรกรไทยให้เป็นเกษตรกรยุคใหม่ ที่สามารถปรับตัวเพื่อความอยู่รอดได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19

จัดทำโดย : มูลนิธิชีวิตไท

สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลิตเมื่อ : ธันวาคม 2564

ปรุงด้วยใจให้กับมือ

KruNoknoiMarket

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นสังคมของผู้บริโภคที่มีความตระหนักและมีความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคมีทางเลือกจากช่องทางตลาดและการเข้าถึงข้อมูลที่มีความรวดเร็วและหลากหลายมากขึ้น จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูล เปรียบเทียบคุณภาพและรายละเอียดของสินค้าและบริการ อีกส่วนที่สำคัญ คือ กระแสรักษ์โลก การดูแลสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังซื้อมักจะเลือกซื้อของกินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปลอดสารเคมี และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

แนวคิดเช่นนี้คือที่มาของงาน “ปรุงด้วยใจให้กับมือ” ซึ่งต้องการเป็นจุดหมายปลายทาง  จุดนัดพบพลพรรคคนรักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการออกร้านจากผู้ผลิตและเกษตรกรรายย่อยโดยตรง  มีกิจกรรม Workshop  กิจกรรมรณรงค์ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื่องจากความตระหนักในปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากวิถีการบริโภคเนื้อสัตว์และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และส่งเสริมการบริโภคอาหารจากพืช ผักผลไม้อินทรีย์และอาหารปลอดภัย เพื่อลดภาวะโลกร้อนและรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้น

“ครูนกน้อย” เจ้าของสถานที่จัดงาน “ปรุงด้วยใจให้กับมือ” และเป็นเจ้าของ “โยคะบ้านสวน”  ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.นนทบุรี ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงจุดเริ่มต้นในการจัดงานว่า  เริ่มจากความสนใจสุขภาพด้วยการฝึกโยคะ มาตั้งแต่ปี  2557 ได้เปิดสอนโยคะ แล้วรู้สึกมีความสุข จึงต้องการส่งต่อความสุขให้กับคนในชุมชนละแวกไทรม้า-ท่าอิฐ นนทบุรี และมีความสนใจในเรื่องความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะพืชผักผลไม้อินทรีย์

ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิดแพร่ระบาดที่ผ่านมา จึงได้เริ่มทำตลาดพรีออเดอร์ผักผลไม้อินทรีย์จากสวนของเกษตรกรโดยตรง และผักพื้นบ้านจากชาวสวนนนทบุรี มาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในหมู่บ้านจัดสรรที่อยู่ในย่านนี้ ผ่านไลน์กลุ่มของหมู่บ้าน โดยการจัดส่งให้ฟรี ทำให้มีโอกาสได้รู้จักเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าโฮมเมด และสินค้าเพื่อสุขภาพหลายราย อาทิเช่น ขนมผักกาดโฮมเมด รสมือแม่ Nanthinee Homemade , Kitchin AtHome  ขนมปัง Vegan homemade , นาเคียงเมือง , พอใจในวิถีพอเพียง สินค้าผลิตภัณฑ์ จากชุมชน , Millionaem มิลเลียนแหนมเห็ดนานาชนิด ,ร้านกรีนเจ, Wish Craft Coffee,ร้านนี้มีแต่ของดี, ผิงซันบุ๊ค เป็นต้น

 จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา โดยมีการออกร้านขายของ ขายอาหาร และจัดกิจกรรม Workshop โดยมีการไลฟ์สดผ่านเพจปรุงด้วยใจให้กับมือ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้คนหันกลับมาดูแลสุขภาพด้วยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และหันมาทานอาหารจากผักผลไม้มากขึ้น โดยในงานได้ให้ความรู้ ความเข้าใจก่อนว่า อาหารวีแกน (Vegan) กับอาหารมังสวิรัติ (Vegetarian) และอาหารเจแตกต่างกันอย่างไร อาหารมังสวิรัติ ไม่เหมือนอาหารเจที่งดเว้นพืชผักบางชนิดด้วย อาหารมังสวิรัติบางกลุ่มยังกินผลิตภัณฑ์ทางอ้อมจากสัตว์ด้วย เช่น นมหรือเนย ส่วนอาหารวีแกนไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ใด ๆ เลย

กัลยาณมิตรหลายภาคส่วนที่ร่วมกันจัดงานปรุงด้วยใจให้กับมือ ตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้สถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นบ้านสวนต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น อยู่ใกล้รถไฟฟ้า ไปมาสะดวก เป็นแหล่งสำหรับพบปะ แลกเปลี่ยน เสวนาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ ต้นไม้ ของใช้ จากธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารที่เป็น Homemade  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริโภคที่สนใจเรื่องสุขภาพ อาหารเจ มังสวิรัติ วีแกน  มีการวางเป้าหมายในการลดการใช้ถุงพลาสติก โดยให้นำภาชนะที่จัดเตรียมมาเอง หรือถุงผ้า นอกจากเรื่องอาหาร ยังรวมถึงสินค้าทำมือ เช่น ของใช้ จาน ชาม งาน Handmade ตลาดต้นไม้ที่ปลูกเอง ขายเอง  เป็นการส่งมอบสิ่งที่ทำ และ “ปรุงด้วยใจ”ของผู้ผลิต มอบ “ให้กับมือ”ผู้บริโภคโดยตรง

ที่มา : ไทยโพสต์ วันที่ 26 ต.ค. 2564

 

เมื่อชาวนาขายข้าวเอง บทเรียนการปรับตัวของชาวนายุคโควิด- 19

WhenFarmerSaleRice

{phocadownload view=youtube|url=https://youtu.be/xVTWx_yo58w} 

ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ 

และภาวะวิกฤตเดิมที่สั่งสมและเรื้อรังมานาน 

ชาวนาจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด

.................................................

"การปรับตัวของชาวนาเพื่ออยู่รอดในยุคนี้ ต้องปรับสู่การผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ปลอดภัยมีคุณภาพ สิ่งสำคัญเราต้องสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ศึกษาเทคโนโลยี และแนวทางการตลาดมากขึ้น" 

- ชรินทร์ ยิ้มศรี

"ชาวนาที่ขายข้าวเอง มีความมั่นคงแน่นอน เพราะเรามีรายได้จากการขายข้าวเพิ่มขึ้น สุขภาพของเราดีขึ้น และเรามีของกินตลอดทั้งปี"

- บุญชู มณีวงษ์

 

จัดทำโดย : มูลนิธิชีวิตไท

สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลิตเมื่อ : กุมภาพันธ์ 2565

 

ติดตามเราได้ที่ facebook youtube

ผู้เข้าชม

6805729
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
ทั้งหมด
1221
5748
1221
34635
6805729

Your IP: 3.133.137.17
2024-05-05 08:01